July 21, 2007

Get the Picture : VDO basic

ต่อเนื่องจากเมื่อครั้งก่อนที่ผมเขียนไว้ในหัวข้อเรื่อง Scoring to picture : application round-up ที่เป็นบทความจาก Electronic Magazine ฉบับเดือน May'07 ฉบับนั้นเน้นไปที่เรื่องการทำดนตรีประกอบภาพ บทความหลายๆบทความเลยมุ่งเน้นไปที่เรื่องนี้ และมีอีกหนึ่งบทความที่น่าสนใจไม่แพ้กัน ใช้ชื่อหัวเรื่องว่า Get the Picture โดยเนื้อหาก็จะเป็นการอธิบายคร่าวๆเกี่ยวกับ basic ของ digital video อาจจะเป็นเรื่องง่ายไปแล้วสำหรับบางคน แต่ถือได้ว่ามีประโยชน์สำหรับอีกหลายคน รวมทั้งตัวผมเองด้วย

เนื้อหายโดยคร่าวๆก็จะเริ่มด้วยการเกริ่นถึงความจำเป็นในการที่คนด้าน audio ต้องรู้เรื่องของ video ด้วย เพราะในปัจจุบัน งานส่วนใหญ่จะเป็นการรวมภาพกับเสียงเข้าด้วยกันในแบบ multimedia จากนั้นบทความก็เริ่มพูดลงไปในด้านเทคนิคเกี่ยวกับ basic video

framerate เป็นเรื่องที่ถูกพูดถึงเป็นเรื่องแรก ผู้เขียนก็อธิบายถึง framerate ใน standard ต่างๆทั้ง PAL SECAM NTSC ตรงนี้ก็ทำให้ผมสงสัยว่า 29.97 fps ของ NTSC เนี่ยเขานับกันยังไง เลยต้องไปหาข้อมูลเพิ่ม ลองดูใน wiki แล้วผมก็ยังไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ จนได้ไปอ่านใน Manual ของ Sound Forge 9 ที่เขียนถึงการทำงานกับ video และอธิบายถึง framerate เขียนไว้ได้ดีครับ ช่วยให้หายงงไปได้ ในบทความนี้ก็เปรียบเทียบว่า framerate ของ video ก็คล้ายกับ samplingrate ของทาง audio จะต่างกันนิดหน่อยก็ตรงที่ว่าแต่ละ frame ของ video ก็คือภาพนิ่งที่ยังสามารถดูและเข้าใจได้ ในขณะที่แต่ละ sample ของ audio ไม่สามารถสื่ออะไรได้นอกเสียจากว่าต้องอยู่รวมๆกันแล้ววิ่งต่อๆกัน (ถึงจะสื่อความหมายไม่ได้ แต่ทุก sample ก็ยังคงสำคัญเท่าๆกันในการคำนวนและประมวลผล)

เรื่องต่อไปเป็นเรื่องของขนาดของภาพ ในระบบ digital เราจะใช้จำนวน pixel ในแนวตั้งแทนจำนวน scan line ของ video โดยความละเอียดของภาพโดยทั่วไปก็เริ่มจาก 704x480 สำหรับ standard-definition digital television (SDTV) ขึ้นไปจนถึง 4,096 × 2,160 สำหรับ Digital Cinema 4K จริงๆผมก็เพิ่งได้ยินคำว่า 4K จาก quicktime video ที่โปรโมท FinalCut Studio 2 ในเวป Apple ลองดูได้ที่ http://www.apple.com/finalcutstudio/action/?movie=red แต่เพิ่งมารู้จากบทความนี้ว่า 4K มันใหญ่มากๆ

จากนั้นก็เป็นการอธิบายถึงการจัดเก็บภาพในแบบ interlaced scan และ progressive scan โดยในแบบ interlaced จะเป็นการแบ่งเส้น scan line แยกออกไปเป็นเส้นคี่ กับเส้นคู่ แยกกันเก็บใน 2 passes (หรือ 2 fields) ในขณะที่ progressive จะไม่แยก แต่จะเก็บภาพเต็มๆลงไปในทั้ง 2 passes จึงทำให้ได้ภาพที่คมชัดกว่า การบอกความละเอียดของ video นั้นมักจะบอกเป็นตัวย่อ โดยใช้เลขที่เป็น pixel ด้านสูง (หรือจำนวน scan line) แล้วตามด้วย i หรือ p ที่ย่อมาจาก interlaced และ progressive ตัวอย่างเช่น 720p 1080i

aspect ratio เป็นอีกเรื่องที่สำคัญ pixel บทจอคอมมีลักษณะเป็น 4เหลี่ยมจตุรัส ดังนั้น resolution 800x600 ก็จะมี aspect ratio เป็น 4:3 หรือ 1.33:1 เท่ากับ analog TV พอดี แต่ SDTV (704x480) ต้องใช้ pixel ที่มีขนาด 4.4:3 เพื่อที่จะทำให้ภาพทั้งหมดมี aspect ratio เป็น 4:3 ส่วนระบบอื่นๆอย่าง HDTV มี aspect ratio ที่ 16:9 (1.78:1) ขณะที่หนังที่ฉายในโรงมักจะเป็น 1.85:1 หรือ 2.39:1

ในส่วนท้ายของบทความนี้มีเรื่องของความละเอียดสีและเรื่องของ data compression อีกด้วย แต่ผมคงไม่เขียนถึงแล้ว เริ่มรู้สึกว่าที่เขียนมานี่ก็แปลแบบไม่ค่อยแน่ใจว่าสื่อสารถูกต้องหรือเปล่า กลัวว่ายิ่งเขียนจะยิ่งมั่ว ถ้าในส่วนที่เขียนไปมีข้อผิดพลาดตรงไหนช่วยท้วงติงด้วยนะครับจะเป็นพระคุณมาก ที่เขียนไปคิดว่าน่าจะมีประโยชน์มาก ใครสนใจก็ลองไปตามอ่านตัวเต็มๆได้ที่ link ด้านล่างนะครับ

บทความจาก http://emusician.com/tutorials/emusic_picture_3/

No comments: